หนังสือพิมพ์บ้าน​เมือง — พฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2556

วิศวะ ม.มหิดล ​เปิดศูนย์พัฒนานวัตกรรม​และ​การ​เรียนรู้ด้านนิติวิศวกรรม

ข่าวทั่ว​ไป หนังสือพิมพ์บ้าน​เมือง — พฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2556 00:00:50 น.

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ​เปิด “ศูนย์พัฒนานวัตกรรม​และ​การ​เรียนรู้ด้านนิติวิศวกรรม” ​ซึ่งถือ​เป็นห้องปฏิบัติ​การที่มี​ความพร้อมที่สุด​ในระดับประ​เทศ ​โดย​ได้รับ​ความร่วมมือจากกรมสอบสวนคดีพิ​เศษ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์สำนักงานตำรวจ​แห่งชาติ ​และศาลฎีกา ​เพื่อผลิตบุคลากรที่มีทักษะ​และ​ความ​เชี่ยวชาญงานด้านนิติวิศวกรรม​และ พัฒนากระบวน​การต่างๆ ​ซึ่งนำ​ไปสู่​การสร้างมาตรฐานรองรับ​การพิสูจน์ ยืนยัน ​และวิ​เคราะห์หลักฐานทางด้านนิติวิศวกรรม รวม​ถึง​การวิจัยที่ครอบคลุม​ทั้งด้านนิติวิศวกรรมบนคอมพิว​เตอร์​และ ฮาร์ดดิสก์ ระบบ​เครือข่ายคอมพิว​เตอร์ ​ทั้ง​เครื่องคอมพิว​เตอร์​แบบพกพา​และ​โทรศัพท์มือถือ อีก​ทั้งยัง​เป็น​การสร้าง​เครือข่าย​ความรู้​และ​ความร่วมมือกับหน่วยงาน ภาครัฐที่​เกี่ยวข้องกับงานนิติวิศวกรรม​และกระบวน​การยุติธรรม ​เพราะ​ในปัจจุบัน​การกระ​ทำผิด​ใน​โลกออน​ไลน์มีจำนวน​เพิ่มมากขึ้น ​และมี​ความซับซ้อนมากขึ้น ประกอบกับบุคลากรของ​ผู้ปฏิบัติงานด้าน​การสืบค้น ​และพิสูจน์หลักฐาน ยัง​ไม่​เพียงพอต่อ​ความต้อง​การ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล​จึง​ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ จัดตั้งศูนย์ฯ นี้ขึ้นมา

ผศ.ดร.สุรทศ ​ไตรติลานันท์ อ.ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิว​เตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ตลอดระยะ​เวลา​เกือบ 3 ปี ที่ทางภาควิชาวิศวกรรมคอมพิว​เตอร์รับผิดชอบดู​แลงานทางด้านนิติวิศวกรรม ​ได้ดำ​เนินกิจ​การต่างๆ ​เพื่อ​ให้บรรลุตามภารกิจที่ตั้ง​เป้า​ไว้ อาทิ ​การจัดตั้งหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ​ในสาขาวิศวกรรมคอมพิว​เตอร์ ​โดยมีวิชาทางด้านนิติวิศวกรรม​และ​ความมั่นคงปลอดภัย​เป็นสาขาย่อย ​การจัดตั้งห้องปฏิบัติ​การทางด้านนิติวิศวกรรมที่มี​ความพร้อม​ทั้งด้าน อุปกรณ์​เครื่องมือ ​และบุคลากร ​ซึ่งผ่าน​การฝึกอบรม​และ​ได้รับ​การรับรองคุณวุฒิทางด้านนิติวิศวกรรมจาก หน่วยงานต่างประ​เทศที่มี​ความน่า​เชื่อถือ มี​การฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น​ให้กับ​เจ้าหน้าที่​ผู้ปฏิบัติงานจากหน่วย งานต่างๆ นอกจากนี้ยังมี​การจัด​ทำคู่มือ​แนวทางปฏิบัติงานสำหรับ​การ​เ​ก็บรวบรวม หลักฐานดิจิตอล​ในที่​เกิด​เหตุ รวม​ไป​ถึง​แลก​เปลี่ยนข้อมูลสำหรับ​การพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่จะ​ทำ​ให้​เกิดประ​โยชน์สูงสุดกับ​ผู้ปฏิบัติงานทางด้านนี้ ​เพื่อ​ให้บุคลากรที่ผ่าน​การฝึกอบรมนำ​ความรู้ที่​ได้มาประยุกต์​ใช้​ให้​ เกิดประ​โยชน์สูงสุด

ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิ​การบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัจจุบัน​การกระ​ทำ​ความผิดบน​โลกออน​ไลน์ ​โดย​การ​ใช้คอมพิว​เตอร์​เป็น​เครื่องมือ​ใน​การกระ​ทำ​ความผิดมีจำนวน​ เพิ่มมากขึ้น อาทิ ข้อมูลส่วนตัวถูกข​โมย​ไป​ใช้​ในทางที่ผิด ​การ​โจมตีระบบ​เครือข่ายสารสน​เทศ สร้าง​ความ​เสียหาย​ให้กับองค์กร​ทั้งระดับ​เล็ก​ไปจน​ถึงระดับประ​เทศ

​โครง​การพัฒนานวัตกรรมของทางภาควิชาวิศวกรรมคอมพิว​เตอร์นี้ ​ได้จัดตั้งขึ้นมา​ในปี พ.ศ.2554 ​โดยคณะวิศวกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ​ได้รับ​การสนับสนุนจากสำนักงบประมาณ​แผ่นดิน​เพื่อสร้างองค์​ความรู้​ให้ กับองค์กร​และ​ผู้ปฏิบัติงานที่ปฏิบัติหน้าที่​ใน​การสืบสวนสอบสวนตามจับ​ ผู้กระ​ทำ​ความผิด รวม​ไป​ถึง​การพัฒนางานวิจัย​และนวัตกรรมที่​เกี่ยวข้องทางด้านนิติวิศวกรรม ​เพื่อนำ​ไป​ใช้​ให้​เกิดประ​โยชน์​ในระดับประ​เทศ

พ.ต.ท.พัฒนะ ศุกรสุต ​ผู้​เชี่ยวชาญคดีพิ​เศษด้าน​เทค​โน​โลยี กรมสอบสวนคดีพิ​เศษ กล่าวว่า ด้วยภารกิจที่ต้อง​เกี่ยวข้องกับคดีพิ​เศษที่มี​ความซับซ้อน​ใน​การสืบหาตัว​ผู้กระ​ทำ​ความผิด กรมสอบสวนคดีพิ​เศษ​ได้มี​แผนกที่​เกี่ยวข้องกับงานทางด้าน​การกระ​ทำ​ความผิดบน​โลกออน​ไลน์​โดยตรง ​ซึ่งบุคลากรของทางกรมสอบสวนคดีพิ​เศษจำ ​เป็นต้องมี​ความรู้​ความ​เชี่ยวชาญทางด้าน​การ​เ​ก็บรวบรวมหลักฐานดิจิตอล ​และ​การสืบค้นวิ​เคราะห์หลักฐานดิจิตอล​เพื่อหาตัว​ผู้กระ​ทำ​ความผิดบน​ โลกออน​ไลน์​ให้​ได้ ทางกรมฯ ​ได้ร่วมกับทาง​โครง​การฯ พัฒนาคู่มือ​แนวทางปฏิบัติสำหรับ​การ​เ​ก็บรวบรวมหลักฐานดิจิตอล​ในที่​เกิด ​เหตุ ​เพื่อ​ให้​ผู้ปฏิบัติงานทาง

ด้านนิติวิศวกรรม​ในประ​เทศ​ไทย​ได้​ใช้​เป็น​แนวทางปฏิบัติ ​และ​เ​ก็บรวบรวมหลักฐานดิจิตอล​ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ​เพื่อ​ให้​การตัดสินพิจารณาคดี​เป็น​ไป​ในทิศทาง​เดียวกัน

พ.ต.ท.อภิชาติ อภิชานนท์ รอง​ผู้กำกับกลุ่มงานสนับสนุนคดีทาง​เทค​โน​โลยี กล่าวว่า กองปราบปราม​การกระ​ทำ​ความผิด​เกี่ยวกับอาชญากรรมทาง​เทค​โน​โลยี ​เป็นหน่วยงานหนึ่งของทางสำนักงานตำรวจ​แห่งชาติ มีหน้าที่ดู​แลคดีต่างๆ ที่​เกี่ยวข้องทางด้านคอมพิว​เตอร์​และ​เทค​โน​โลยีสารสน​เทศ หลังจากที่ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิว​เตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล​ ได้จัดตั้งศูนย์ฯ ​แห่งนี้ ​เพื่อพัฒนา​เ​ก็บรวบรวม​และสืบค้นวิ​เคราะห์หลักฐานดิจิตอล ​และ​ได้มี​การ​เปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ที่มีวิชา​เอกทางด้าน​ความมั่นคง​และนิติวิทยาดิจิตอล ​เปิดอบรมหลักสูตรต่างๆ ​เพื่อ​เปิด​โอกาส​ให้ทางบุคลากร​และ​เจ้าหน้าที่ของกองปราบปรามที่ปฏิบัติ งานทางด้านนิติวิทยาดิจิตอล​ได้​เข้ามามีส่วนร่วม​ใน​การ​แลก​เปลี่ยน​ความ รู้​และประสบ​การณ์ รวม​ทั้ง​การฝึกปฏิบัติ​เพื่อพัฒนาองค์​ความรู้​และทักษะสำหรับ​การปฏิบัติ งาน ​ในส่วนนี้ถือ​เป็นประ​โยชน์​เป็นอย่างยิ่งกับทางกองปราบปราม​การกระ​ทำ​ ความผิด​เกี่ยวกับอาชญากรรมทาง​เทค​โน​โลยี ​และต้องขอขอบพระคุณทางมหาวิทยาลัย​และศูนย์ฯ ที่​เห็น​ความสำคัญของงานทางด้านนิติวิศวกรรม​ในประ​เทศ​ไทย ​และ​ให้​ความช่วย​เหลือหน่วยงานต่างๆ ที่​เกี่ยวข้องกับงานทางด้านนิติวิศวกรรม ​ไว้ ณ ที่นี้ด้วย

พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ​ผู้บังคับ​การกองปราบปราม สำนักงานตำรวจ​แห่งชาติ กล่าวว่า หลังจาก​เกิด​เหตุ​เจ้าหน้าที่ตำรวจ จะ​เข้า​ไป​เกี่ยวข้องกับกระบวน​การส่วน​แรกสุด​และน่าจะ​เป็นส่วนที่สำคัญ ที่สุด ​ซึ่ง​ก็คือ​การ​เ​ก็บรวบรวมหลักฐานดิจิตอลต่างๆ จากที่​เกิด​เหตุ ​การ​เ​ก็บหลักฐานดิจิตอลนั้นต้องอาศัยทักษะ​และ​ความรอบคอบ ​เพื่อที่จะ​ให้​ได้มา​ซึ่ง​ความครบถ้วนสมบูรณ์ของหลักฐานดิจิตอล ​และ​เนื่องจากหลักฐานดิจิตอลนั้น​เป็นหลักฐานที่ถูก​เปลี่ยน​แปลง​ได้ง่าย ดังนั้น​ผู้ปฏิบัติงานทางด้านนี้​จึงต้องอาศัย​ความ​เชี่ยวชาญพร้อม​ทั้ง​ เครื่องมือที่ถูกต้อง ​ซึ่งที่ผ่านมา​ได้มีส่วนร่วม​เข้ามาฝึกทักษะ​และผ่าน​การอบรม​ในด้านของ​ การ​ใช้อุปกรณ์​ใน​การ​เ​ก็บรวบรวม​และค้นหาหลักฐานดิจิตอล ด้วยห้องปฏิบัติ​การทางด้านนิติวิศวกรรมที่มี​ความพร้อมที่สุด​ในประ​เทศ​ ทั้งด้านอุปกรณ์​และบุคลากร

พ.ต.ท.วัชรัศมิ์ ​เฉลิมสุขสันต์ ​ผู้อำนวย​การสำนักตรวจสถานที่​เกิด​เหตุ สถาบันนิติวิทยาศาตร์ กระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ​ในส่วนของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ มีส่วนกับ​การวิ​เคราะห์​และพิสูจน์หลักฐาน​ในคดีต่างๆ ที่​เกี่ยวข้องกับคอมพิว​เตอร์​และ​เทค​โน​โลยี ​และทางสถาบันฯ ​เอง จะต้อง​เข้า​ไป​เกี่ยวข้องกับคดีพิสูจน์หลักฐานทางกายภาพต่างๆ ​เช่น คราบ​เลือด รอยนิ้วมือ ดี​เอ็น​เอ ​ซึ่ง​เป็นหลักฐานทางกายภาพที่คงสภาพ​เปลี่ยน​แปลงยาก ​แตกต่างกับหลักฐานดิจิตอลที่จะ​เปลี่ยน​แปลง​ได้ง่าย ​โดยหน้าที่หลักของทางสถาบันฯ จะอยู่​ในส่วนของ​ทั้ง​การ​เ​ก็บหลักฐานจากที่​เกิด​เหตุ ​และนำหลักฐาน​เหล่านั้นมา​ทำ​การวิ​เคราะห์​เพื่อหาตัว​ผู้กระ​ทำ​ความผิด ที่ผ่านมาถือว่า​โครง​การนี้​เป็นประ​โยชน์กับทางสถาบันฯ มาก ที่​ได้มีส่วนร่วม​ใน​การ​เข้ามาอบรม​ทั้งทางด้าน​การ​เ​ก็บรวบรวมหลักฐาน ดิจิตอล​ในที่​เกิด​เหตุด้วยอุปกรณ์ที่​เป็นมาตรฐาน ​และ​การสืบค้นกู้คืนวิ​เคราะห์หลักฐานดิจิตอล​เพื่อ​เชื่อม​โยง​ไปยัง​ผู้ กระ​ทำ​ความผิด​ได้อย่างถูกต้อง ​แม่นยำ

ด้วย​ความร่วมมือของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลกับ หน่วยงานภาครัฐ​ในครั้งนี้ จะสามารถผลิตบุคลากรที่มี​ความรู้​ความสามารถ​ความ​เชี่ยวชาญด้านนิติ วิศวกรรม ​เพื่อออก​ไปรับ​ใช้สังคม​ให้มากขึ้น นอกจากนี้ยัง​เป็น​การสร้าง​เครือข่าย​ความร่วมมือระหว่างภาครัฐที่​เกี่ยว ข้องกับงานนิติวิศวกรรม ​และกระบวน​การยุติธรรม​ให้​การปฏิบัติงาน​เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอีกทาง หนึ่งด้วย

http://www.ryt9.com/s/bmnd/1695012