หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- รายละเอียดการรับสมัครปริญญาโท (pdf file)
- กำหนดการรับสมัครปริญญาโท (link)
- แผ่นพับหลักสูตรปริญญาโท (pdf file)
ชื่อปริญญา
วศ.ม.(วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
ปรัชญา
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาคพิเศษ) มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในกลุ่มวิชา ๒ ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงและนิติวิทยาดิจิทัล และด้านระบบสารสนเทศและการประยุกต์เชิงอุตสาหกรรม สามารถวิเคราะห์วิจัยเพื่อพัฒนาความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อรองรับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศในยุคดิจิทัลและการสื่อสารที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและ ไร้พรมแดน
วัตถุประสงค์
- เพื่อผลิตมหาบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการประกอบอาชีพสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ด้วยมาตรฐานระดับนานาชาติ ผู้สามารถนำความรู้ไปทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในยุคที่การสื่อสารไร้พรมแดน
- เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถวิเคราะห์ ค้นหางานวิจัย และพัฒนางานทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- เพื่อสร้างมหาบัณฑิตที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม รวมทั้งมีความเป็นผู้นำ มีคุณธรรม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และนำความรู้ไปใช้เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ
- เพื่อสนับสนุนการค้นคว้าและการใช้บริการวิชาการทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
กำหนดการรับสมัคร
เปิดรับสมัคร | วันที่ 1 ส.ค. 2554 – 16 ก.ย. 2554 |
สอบสัมภาษณ์ (ไม่มีการสอบข้อเขียน) | วันที่ 23 ก.ย. 2554 |
ประกาศผลการสอบสัมภาษณ์ | วันที่ 28 ก.ย. 2554 |
ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ | วันที่ 14 พ.ย. 2554 |
ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ | วันที่ 21 พ.ย. 2554 |
คุณสมบัติของผู้เข้าสมัคร
แผน ก แบบ ก2
- 1. สําเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องจากสถาบันในประเทศหรือต่างประเทศซึ่งกระทรวง ศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ นอกจากนี้รวมถึงบุคคลที่สนใจสาขา Digital Forensics ที่สามารถสมัครได้ เช่น ตำรวจ นิติ เป็นต้น
- 2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.5
- 3. ผู้ที่มีผลสอบผ่านภาษาอังกฤษต้องได้คะแนนสอบ TOEFL ที่ระดับคะแนน 470 คะแนน หรือ TOEFL Computer – based ที่ระดับคะแนน 150 คะแนน หรือ TOEFL Internet – based ที่ระดับคะแนน 52 คะแนน หรือ IELTS ที่ระดับคะแนน 4.5 คะแนน หรือสอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษที่จัดสอบโดยศูนย์ภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กรณีผู้สมัครไม่มีผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษ ผู้สมัครต้องเข้าสอบวิชาภาษาอังกฤษในวันสอบข้อเขียนที่บัณฑิตวิทยาลัยจัดสอบ
- 4. ผู้สมัครต้องส่ง Concept paper (ในวันสอบสัมภาษณ์) ความยาวประมาณ 1-2 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วยหัวข้อ งานวิจัย ที่สนใจ ที่มาและความสําคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โดยใน Concept paper อาจเสนอหัวข้องานวิจัยมากกว่า 1 หัวข้อก็ได้
- 5. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจ ของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
แผน ข
- 1. สําเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องจาก สถาบันในประเทศหรือต่างประเทศซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ นอกจากนี้รวมถึงบุคคลที่สนใจสาขา Digital Forensics ที่สามารถสมัครได้ เช่น ตำรวจ นิติ เป็นต้น
- 2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.5
- 3. ผู้ที่มีผลสอบผ่านภาษาอังกฤษต้องได้คะแนนสอบ TOEFL ที่ระดับคะแนน 470 คะแนน หรือ TOEFL Computer – based ที่ระดับคะแนน 150 คะแนน หรือ TOEFL Internet – based ที่ระดับคะแนน 52 คะแนน หรือ IELTS ที่ระดับคะแนน 4.5 คะแนน หรือสอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษที่จัดสอบโดยศูนย์ภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กรณีผู้สมัครไม่มีผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษ ผู้สมัครต้องเข้าสอบวิชาภาษาอังกฤษในวันสอบข้อเขียนที่บัณฑิตวิทยาลัยจัดสอบ
- 4. ผู้สมัครต้องส่ง Concept paper (ในวันสอบสัมภาษณ์) ความยาวประมาณ 1-2 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วยหัวข้อ งานวิจัย ที่สนใจ ที่มาและความสําคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โดยใน Concept paper อาจเสนอหัวข้องานวิจัยมากกว่า 1 หัวข้อก็ได้
- 5. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจ ของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
หมายเหตุ
- ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้อาจได้รับการพิจารณา ให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลัก สูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
- ** ผู้สมัครต้องเลือกแผนการเรียนตั้งแต่สมัครสอบ ซึ่งแผนการเรียนแบ่งเป็น 2 แผน คือ แผน ก แบบ ก(2) คือ การทําวิทยานิพนธ์ หรือ แผน ข คือ การทําสารนิพนธ์ **
สถานที่สอน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จ. นครปฐม
โครงสร้างหลักสูตร
จัดการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ หลักสูตรปริญญาโท แผน ก แบบ ก(๒) และแผน ข ดังนี้
หมวด | จํานวนหน่วยกิต | |
แผนก | แบบก(2) | แผน ข |
(1) หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | ไม่นับหน่วยกิต |
(2) หมวดวิชาบังคับ | 21 | 21 |
(3) หมวดวิชาเลือก | ไม่น้อยกว่า 6 | 12 |
(4) วิทยานิพนธ์ | 12 | – |
(5) สารนิพนธ์ | – | 6 |
รวมไม่น้อยกว่า | 39 | 30 |
หลักฐานการสมัคร
1. | ใบสมัคร (รับสมัครเฉพาะด้วยตนเอง) | |
2. | รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว | จํานวน 4 รูป |
3. | สําเนาปริญญาบัตร/หรือหนังสือรับรองการจบการศึกษา (สําหรับผู้ที่จบการศึกษาแล้ว) | จํานวน 2 ฉบับ |
4. | หนังสือรับรองว่ากําลังศึกษาอยู่ในปีสุดท้าย (สําหรับผู้ที่กําลังศึกษาอยู่) | จํานวน 2 ฉบับ |
5. | Transcript ฉบับสมบูรณ์ตลอดหลักสูตร (สําหรับผู้ที่จบการศึกษาแล้ว) | จํานวน 2 ฉบับ |
6. | Grade Report ที่ปรากฏรายวิชา และเกรดที่ได้รับตั้งแต่ภาคการศึกษาแรก | จํานวน 2 ฉบับ |
7. | ถึงภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนสําเร็จการศึกษา | |
8. | สําเนาบัตรประชาชน | จํานวน 2 ฉบับ |
9. | สําเนาทะเบียนบ้าน | จํานวน 2 ฉบับ |
10. | หนังสือรับรองประสบการณ์การทํางาน (สําหรับผู้สมัคร แผน ข) | จํานวน 2 ฉบับ |
จุดเด่นของหลักสูตร
หลักสูตรเน้นการเรียนการสอนและการวิจัย ใน 3 ด้านหลัก คือ ด้านระบบสารสนเทศ (Information Systems) ด้านการ ประยุกต์ทางอุตสาหกรรม(Industrial Applications) และด้านความมั่นคงและนิติวิทยาเชิงเลข (Security and Digital Forensics) โดยภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เตรียมจัดตั้งห้องปฏิบัติการ Digital Forensics สําหรับการเรียนการ สอนและการวิจัยทางด้าน Digital Forensics
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสําเร็จการศึกษา
- นักวิชาการด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ นิติวิทยาเชิงเลข
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
- ผู้ดูแลระบบสารสนเทศ ระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
- ผู้บริหารโครงการสารสนเทศ
- นักนิติวิทยาเชิงเลข
- วิศวกรในอุตสาหกรรมผลิตฮาร์ดแวร์
- ผู้บริหาร เจ้าของกิจการ
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา
ค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบเหมาจ่าย(โดยประมาณ) ,70,000 บาท ต่อปี (ไม่รวมค่าหอพักและค่าใช้จ่ายส่วนตัว) ดังนี้
1. ค่าลงทะเบียน | 20,000 | บาทต่อคนต่อปี (คิด 2 ปีการศึกษา) |
2. ค่าบำรุงอุปกรณ์ | 50,000 | บาทต่อคนต่อปี (คิด 2 ปีการศึกษา) |
รวม | 70,000 | บาทต่อคนต่อปี |
หมายเหตุ : ค่าธรรมเนียมข้างต้นอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ระบบการศึกษา
ระบบหน่วยกิตทวิภาค หนี่งปีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษา ซึ่งแต่ละภาคการศึกษามีระยะเวลาประมาณ 16 สัปดาห์ และภาคฤดูร้อน
ระยะเวลาการศึกษา
ระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตร 2 ปีการศึกษา โดยใช้เวลาศึกษาอย่างมากไม่เกิน 4 ปีการศึกษา
วิธีการสมัคร
กำหนดการสมัคร
รายละเอียดข้อมูลการศึกษาต่อเพิ่มเติมได้ที่
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
25/25 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ศาลายา จ. นครปฐม 73170
ที่ตั้งภาควิชา : ตึก 3 ชั้น 2 ห้อง 6267
โทรศัพท์ (02) 889-2138 ต่อ 6251-2 (จันทร์ – ศูกร์ 8.30 – 16.30)
โทรสาร (02) 889-2138 ต่อ 6259
E-mail: headegco@mahidol.ac.th
Website: http://egco.mahidol.ac.th